แผนการตลาด

แผนการตลาด


แต่ละระดับของผลิตภัณฑ์ในหน่วยธุรกิจ (บริษัท) จะต้องมีการวางแผนการตลาด เพื่อความชัดเจนแน่นอนในการบรรลุเป้าหมายของตน


แผนการตลาดเป็น output ที่สำคัญอย่างหนึ่งของกระบวนการทางการตลาด ซึ่งแผนการตลาดควรมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้ คือ บทสรุปสำหรับผู้บริหาร, สารบัญ, สถานการณ์การตลาดโดยทั่วไปในปัจจุบัน, การวิเคราะห์โอกาสทางการตลาด และประเด็นสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท, บทสรุปของแผนด้านการเงินและวัตถุประสงค์ทางการตลาด,กลยุทธ์การตลาดที่จะนำมาใช้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาด, รายละเอียดของแผนงานโครงการต่างๆ ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ที่วางไว้ตอนต้น, ประมาณการกำไรขาดทุนจากการดำเนินโครงการ, สรุปเกี่ยวกับระบบการควบคุมต่างๆ เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการตามแผนในอนาคต

กระบวนการทางการตลาด

กระบวนการทางการตลาด

“การวางแผนการตลาดเชิงยุทธ์” สำ หรับธุรกิจแต่ละรูปแบบ ต้องประกอบด้วยกิจกรรมต่อไปนี้ คือ นิยามภารกิจของธุรกิจ,วิเคราะห์สถานการร์แวดล้อมภายนอกด้านโอกาสและอุปสรรคของธุรกิจ, วิเคราะห์สถานการแวดล้อมภายในด้านจุดแข็งและจุดอ่อนของธุรกิจ, กำหนดเป้าหมาย, กำหนดยุทธศาสตร์(กลยุทธ์), กำหนดแผนงานสนับสนุน(โดยละเอียด), การนำ แผนไปปฏิบัติ, และการเก็บข้อมูลป้อนกลับและการควบคุมให้ได้ตามเป้าหมายแผนงาน

"กระบวนการทางการตลาด” ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ วิเคราะห์โอกาสทางการตลาด, กำหนดยุทธศาสตร์(กลยุทธ์) ทางการตลาด, วางแผนงานและโครงงานต่างๆ (โดยละเอียด), และการจัดองค์กร, การนำแผนงานโครงการต่างๆไปปฏิบัติ, ควบคุม

การวางแผนการตลาดเชิงยุทธ์

การวางแผนการตลาดเชิงยุทธ์


การวางแผนการตลาดเชิงยุทธ์แบบมุ่งตลาดเป้าหมายคือกระบวนการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาและดำรงไว้ซึ่งความสอด

คล้องเหมาะสมระหว่าง วัตถุประสงค์ขององค์กร, ทักษะความสามารถขององค์กร, และทรัพยากรขององค์กร, รวมทั้งภาวะพลวัต

การเปลี่ยนแปลงของโอกาสทางการตลาด. จุดมุ่งหมายของ การวางแผนการตลาดเชิงยุทธ์เพื่อปรับรูปแบบธุรกิจของบริษัทให้

เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านผลตอบแทนกำไรและการเติบโต. “การวางแผนการตลาดเชิงยุทธ์อาจเกิดขึ้น

ได้ 4 ลักษณะ คือ


ระดับสูงสุด (Corporate Strategy)

ระดับแผนก (Division Strategy)

ระดับหน่วยธุรกิจ (Business Unit Strategy)

ระดับผลิตภัณฑ์(Product Strategy)


สำนักงานใหญ่จะเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการให้กระบวนการวางแผนการตลาดเชิงยุทธ์เริ่มดำเนินการและเคลื่อนที่ก้าวหน้าลุล่วงไปจนสำเร็จ Corporate Strategy จะเป็นตัวกำหนดกรอบให้ “Division Strategy” และ “Business Unit Strategy” วางแผนของตนให้สอดคล้องกัน และสอดคล้องกับ “Corporate Strategy”


การกำหนด “Corporate Strategy” ต้องมีการดำเนิน 4 กิจกรรม คือ นิยามภารกิจระดับสูงสุด, กำหนดหน่วยธุรกิจเชิงยุทธ์(SBU), กำหนดการใช้ทรัพยากรในแต่ละSBU (ทั้งนี้ โดยพิจารณาจากความน่าลงทุนของตลาดและความแข็งแกร่งของบริษัทเรา), และสุดท้ายคือการวางแผนเริ่มลงทุนในธุรกิจใหม่ หรือตัดการลงทุนในธุรกิจเก่าที่ไม่ทำกำไร

Yellow Puppies Blogger Template | Template Design | Elque 2008