แผนการตลาด

แผนการตลาด


แต่ละระดับของผลิตภัณฑ์ในหน่วยธุรกิจ (บริษัท) จะต้องมีการวางแผนการตลาด เพื่อความชัดเจนแน่นอนในการบรรลุเป้าหมายของตน


แผนการตลาดเป็น output ที่สำคัญอย่างหนึ่งของกระบวนการทางการตลาด ซึ่งแผนการตลาดควรมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้ คือ บทสรุปสำหรับผู้บริหาร, สารบัญ, สถานการณ์การตลาดโดยทั่วไปในปัจจุบัน, การวิเคราะห์โอกาสทางการตลาด และประเด็นสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท, บทสรุปของแผนด้านการเงินและวัตถุประสงค์ทางการตลาด,กลยุทธ์การตลาดที่จะนำมาใช้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาด, รายละเอียดของแผนงานโครงการต่างๆ ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ที่วางไว้ตอนต้น, ประมาณการกำไรขาดทุนจากการดำเนินโครงการ, สรุปเกี่ยวกับระบบการควบคุมต่างๆ เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการตามแผนในอนาคต

กระบวนการทางการตลาด

กระบวนการทางการตลาด

“การวางแผนการตลาดเชิงยุทธ์” สำ หรับธุรกิจแต่ละรูปแบบ ต้องประกอบด้วยกิจกรรมต่อไปนี้ คือ นิยามภารกิจของธุรกิจ,วิเคราะห์สถานการร์แวดล้อมภายนอกด้านโอกาสและอุปสรรคของธุรกิจ, วิเคราะห์สถานการแวดล้อมภายในด้านจุดแข็งและจุดอ่อนของธุรกิจ, กำหนดเป้าหมาย, กำหนดยุทธศาสตร์(กลยุทธ์), กำหนดแผนงานสนับสนุน(โดยละเอียด), การนำ แผนไปปฏิบัติ, และการเก็บข้อมูลป้อนกลับและการควบคุมให้ได้ตามเป้าหมายแผนงาน

"กระบวนการทางการตลาด” ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ วิเคราะห์โอกาสทางการตลาด, กำหนดยุทธศาสตร์(กลยุทธ์) ทางการตลาด, วางแผนงานและโครงงานต่างๆ (โดยละเอียด), และการจัดองค์กร, การนำแผนงานโครงการต่างๆไปปฏิบัติ, ควบคุม

การวางแผนการตลาดเชิงยุทธ์

การวางแผนการตลาดเชิงยุทธ์


การวางแผนการตลาดเชิงยุทธ์แบบมุ่งตลาดเป้าหมายคือกระบวนการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาและดำรงไว้ซึ่งความสอด

คล้องเหมาะสมระหว่าง วัตถุประสงค์ขององค์กร, ทักษะความสามารถขององค์กร, และทรัพยากรขององค์กร, รวมทั้งภาวะพลวัต

การเปลี่ยนแปลงของโอกาสทางการตลาด. จุดมุ่งหมายของ การวางแผนการตลาดเชิงยุทธ์เพื่อปรับรูปแบบธุรกิจของบริษัทให้

เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านผลตอบแทนกำไรและการเติบโต. “การวางแผนการตลาดเชิงยุทธ์อาจเกิดขึ้น

ได้ 4 ลักษณะ คือ


ระดับสูงสุด (Corporate Strategy)

ระดับแผนก (Division Strategy)

ระดับหน่วยธุรกิจ (Business Unit Strategy)

ระดับผลิตภัณฑ์(Product Strategy)


สำนักงานใหญ่จะเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการให้กระบวนการวางแผนการตลาดเชิงยุทธ์เริ่มดำเนินการและเคลื่อนที่ก้าวหน้าลุล่วงไปจนสำเร็จ Corporate Strategy จะเป็นตัวกำหนดกรอบให้ “Division Strategy” และ “Business Unit Strategy” วางแผนของตนให้สอดคล้องกัน และสอดคล้องกับ “Corporate Strategy”


การกำหนด “Corporate Strategy” ต้องมีการดำเนิน 4 กิจกรรม คือ นิยามภารกิจระดับสูงสุด, กำหนดหน่วยธุรกิจเชิงยุทธ์(SBU), กำหนดการใช้ทรัพยากรในแต่ละSBU (ทั้งนี้ โดยพิจารณาจากความน่าลงทุนของตลาดและความแข็งแกร่งของบริษัทเรา), และสุดท้ายคือการวางแผนเริ่มลงทุนในธุรกิจใหม่ หรือตัดการลงทุนในธุรกิจเก่าที่ไม่ทำกำไร

หน้าที่ของผู้จัดการฝ่ายการตลาด

หน้าที่ของผู้จัดการฝ่ายการตลาด

ผู้จัดการฝ่ายการตลาด มีภาระรับผิดชอบ 2 ประการในการบริหารบริษัทที่มุ่งมั่นด้านคุณภาพ. กล่าวคือ

1. ต้องร่วมกัน
กำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายของบริษัทเพื่อให้บริษัทบรรลุวัตถุประสงค์ด้านความเป็นเลิศในคุณภาพโดยรวมทุกด้าน(TotalQuality Excellence)

2. ทุกคนต้องร่วมกันสร้างและส่งมอบคุณภาพทางการตลาด พร้อมๆ กับคุณภาพการผลิตแก่ลูกค้า

ด้วย กิจกรรมทางการตลาดแต่ละอย่างจะต้องดำเนินการอย่างได้มาตรฐานสูงสุด (เช่น การวิจัยตลาด การฝึกอบรมด้านการขายการโฆษณา การบริการลูกค้า ฯลฯ)

คุณภาพ(Quality) คือหัวใจสำคัญสูงสุด

คุณภาพ (Quality) คือหัวใจสำคัญสูงสุด

ในบรรดาของคุณลักษณะต่างๆที่ต้องมีอยู่ในสินค้า/บริการ
คุณภาพ (Quality) คือหัวใจสำคัญสูงสุดซึ่งต้องมีอยู่ในสินค้า/บริการที่จะสร้างความพอใจหรือสนองความต้องการของลูกค้า. ปัจจุบันบริษัททั้งหลายไม่มีทางเลือกอื่นอีกแล้ว นอกจากการประยุกต์ใช้วิธีบริหารคุณภาพแบบองค์รวม (Total Quality Management Program: TQM) ถ้ายังต้องการอยู่ในธุรกิจและมีกำ ไรอยู่ได้

คุณภาพโดยรวม ถือเป็นหัวใจสำ คัญในการสร้างคุณค่าต่างๆให้ลูกค้า และสร้างความพอใจสูงสุดให้ลูกค้า

ทำไมต้องทำ CRM

ทำไมต้องทำ CRM

การสูญเสียลูกค้าที่ทำกำไรให้กับเราอาจจะมีผลกระทบต่อกำไรของบริษัทเป็นอย่างมาก เคยมีผู้ประมาณการไว้ว่า ค่าใช้
จ่ายในการได้มาซึ่งลูกค้าใหม่ อาจจะสูงเป็น 5 เท่าของค่าใช้จ่ายในการรักษาลูกค้าเดิมไว้ กุญแจสำ คัญที่เป็นเทคนิคในการรักษาลูกค้าเก่าเอาไว้ คือ การตลาดแบบมุ่งเน้นสร้างสัมพันธ์กับลูกค้า CRM (Customer Relationship Marketing)

การรักษาลูกค้าให้มีความสุขที่จะอยู่
กับเรานานๆ นั้น บริษัทอาจจะต้องสร้างผลิตภัณฑ์ให้มีประโยชน์ทั้งด้านการเงินและด้านสังคม หรือสร้างความผูกพันเชิงโครงสร้างระหว่างบริษัทกับลูกค้าให้แน่นแฟ้น

การสร้างเครือข่ายการตลาด (Marketing Network)

การสร้างเครือข่ายการตลาด (Marketing Network)

บริษัทที่มีความแข็งแกร่ง จะพัฒนาสมรรถนะสูงสุดในการบริหารจัดการกระบวนการทำงานหลักของธุรกิจ เช่น การออกผลิต
ภัณฑ์ใหม่สู่ตลาด การจัดการสินค้าคงคลัง การหาลูกค้าและการรักษาลูกค้า การสั่งสินค้าโดยลูกค้าไม่ต้องไปเลือกซื้อเอง (แต่ส่งเงินไป) และการให้บริการด้านต่างๆ แก่ลูกค้า ฯลฯ

การบริการจัดการกระบวนการเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิผลหมายถึงการที่บริษัท
จะสามารถสร้างเครือข่ายการตลาด (Marketing Network) ซึ่งช่วยให้บริษัทสามารถร่วมธุรกิจกับกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น
เครือข่ายการผลิต เครือข่ายกระจายสินค้า รวมถึงผู้จัดส่ง/จัดหาวัตถุดิบและผู้จัดส่งสินค้าเพื่อการค้าปลีก ซึ่งถ้าสร้างเครือข่ายได้แบบนี้ บริษัทจะไม่ต้องเหนื่อยกับการแข่งขันแต่เพียงผู้เดียว แต่จะมีเครือข่ายการตลาดเข้ามาเป็นผู้ช่วย

นักการตลาดเกี่ยวข้องกับกลุ่มตลาดเป้าหมาย 4 ประเภท

นักการตลาดเกี่ยวข้องกับกลุ่มตลาดเป้าหมาย 4 ประเภท คือ

ตลาดผู้บริโภคสุดท้าย คือ ทุกๆ คนที่จ่ายเงินซื้อสินค้ามาใช้เอง หรือซื้อให้คนอื่นใช้

ตลาดสถาบันหรือบริษัท คือ ซื้อสินค้าเพื่อนำไปเสริมสร้างจุดแข็งของบริษัท

ตลาดโลก คือ ตลาดขนาดใหญ่ที่ต้องทำธุรกรรมข้ามประเทศเพื่อทำธุรกิจ

ตลาดกลุ่มที่ไม่มุ่งหวังกำไร คือ คล้ายๆ ตลาดบริษัท แต่ไม่ได้ซื้อสินค้าเพื่อไปแสวงหากำไรต่อ

นักการตลาดเข้าไปเกี่ยวข้องกับการตลาดในหลายรูปแบบ

นักการตลาดเข้าไปเกี่ยวข้องกับการตลาดในหลายรูปแบบ

การตลาดถูกมองว่าเป็นงานเกี่ยวกับการสร้าง ส่งเสริม ส่งมอบสินค้าไปยังลูกค้าหรือธุรกิจ (เี่ยวข้องกับทุกวงจรของเศรษฐกิจ)
นักการตลาดเข้าไปเกี่ยวข้องกับการตลาดในหลายรูปแบบ เช่น

สินค้า เช่น สินค้าต่างๆ ที่จับต้องได้ มองเห็นเป็นรูปธรรม ...(รถยนต์ บ้าน)

บริการ เช่น ทำผม ทำเล็บ ซึ่งเมื่อใช้บริการเสร็จแล้วคุณเอาไปขายต่อไม่ได้ เพราะมันไม่มีตัวตน

ประสบการณ์ เช่น การนั่งจิบกาแฟในร้านกาแฟชื่อดัง

เหตุการณ์ เช่น การจัดงาน Expo วันแม่

บุคคล เช่น การสร้างภาพลักษณ์ การเสริมบุคลิก

สถานที่ เช่น ห้างสรรพสินค้าดึงคนเข้าไปทำอะไรสักอย่างในห้าง

สารสนเทศ เช่น การขายข้อมูล การค้นหาข้อมูล

แนวความคิด เช่น บริษัทที่ปรึกษาด้านการตลาด

และอื่นๆ อีกมากมายที่การทำการตลาดให้ประสบผลสำเร็จอาจเป็นไปได้หลายรูปแบบ

Exchange / Transaction

Exchange / Transaction

หนึ่ง ในความหมายของ “การตลาด” หมายถึงการแลกเปลี่ยน (Exchange) สินค้าหรือบริการ จากกลุ่มหนึ่งที่เป็นผู้สร้างไปยังอีกกลุ่มที่เป็นผู้รับหรือผู้ซื้อ โดยมีบางสิ่งบางอย่างตอบแทนกัน (เช่น เงิน หรือ สินค้า หรือ บริการ)

ส่วนคำว่า Transaction มีความหมายแตกต่างจาก Exchange คือหมายถึงการแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นเพียงชั่วครั้งชั่วคราวและเลิกรากันไป เช่น การซื้อขายหลักทรัพย์ หรือการซื้อของในตลาดนัดที่ผู้ซื้อผู้ขายเจอกันครั้งเดียวแล้วไม่เจอกันอีก เลย แต่ในทางการตลาด การแลกเปลี่ยนจะมีความหมายกว้าง กว่าTransaction คือ จะมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน และจะมีการแลกเปลี่ยนกันมากกว่า 1 ครั้งหรืออาจจะยาวนานตลอดไป (Relationship Exchange or Relationship Marketing)

Relationship Marketing มีเป้าหมายเพื่อสร้างความพึงพอใจร่วมกันในระยะยาวระหว่างกลุ่มต่างๆที่ เกี่ยวข้อง เช่น ลูกค้า ผู้จัดหาสินค้า/วัตถุดิบ ผู้จัดจำ หน่าย ฯลฯ เพื่อดำ รงรักษาความพึงพอใจและธุรกิจไว้ตราบนานเท่านาน. ผลลัพธ์สูงสุดของRelationship Marketing คือ การสร้างสินทรัพย์สำคัญสูงสุดของบริษัท คือ เครือข่ายการตลาด - Marketing Network

ความพึงพอใจของผู้ซื้อ-Total Customer Satisfaction: TCS

ความพึงพอใจของผู้ซื้อ - Total Customer Satisfaction: TCS

ความพึงพอใจของผู้ซื้อ เป็นความรู้สึกของลูกค้าที่เกิดจากหลายส่วนประกอบกัน เช่น คุณภาพประโยชน์ใช้สอยของผลิต
ภัณฑ์ และ ความคาดหวังของลูกค้า เป็นที่ยอมรับกันว่า ความพึอพอใจของลูกค้าระดับสูงๆ ช่วยให้เกิดความภักดีต่อสินค้า

ดังนั้น
ในปัจจุบันธุรกิจจำนวนมากจึงมุ่งมั่นเพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า (Total Customer Satisfaction: TCS) ซึ่งบริษัทเหล่านั้นอาจถือว่า TCS เป็นทั้งเป้าหมายของบริษัท และยังเป็นเครื่องมือทางการตลาดอีกด้วย

การส่งมอบคุณค่าให้ลูกค้า

การส่งมอบคุณค่าให้ลูกค้า

ลูกค้าคือผู้ที่เราต้องมอบคุณค่า (สินค้า/บริการ/ฯลฯ) ให้มากที่สุด ลูกค้าจะคาดหวังจากเรา (นักการตลาด) และมักแสดงอาการหรือกิจกรรมต่างๆ เพื่อสื่อความหมายนี้ให้เราเสมอ

ผู้ซื้อจะซื้อจากบริษัทที่เขาคิดว่าให้คุณค่า (สินค้า/บริการ/ฯลฯ) แก่เขาสูงสุด(ซึ่งอาจนิยามจากความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ลูกค้าได้รับทั้งหมด ลบด้วย ค่าใช้จ่ายที่ลูกค้าต้องเสียไป) ดังนั้นผู้ขายต้องหมั่นประเมินคุณค่ารวมทั้งหมด (สินค้าบริการ/ฯลฯ) ที่ลูกค้าได้รับ และค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมดที่ลูกค้าต้องเสียไปอยู่เสมอ โดยเทียบกับคู่แข่งขันที่ต่างก็แข่งกันมอบคุณค่าต่างๆให้กับลูกค้าเช่นกัน

ผู้ขายที่เสียเปรียบด้านคุณค่ารวมทั้งหมด (สินค้า/บริการ/ฯลฯ) (ไม่สามารถแข่งขันกับผู้ขายรายอื่นในการมอบคุณค่าให้กับลูกค้าได้) ก็อาจแก้ไขได้โดยเพิ่มคุณค่ารวมทั้งหมด (สินค้า/บริการ/ฯลฯ)
หรือลดค่าใช้จ่ายที่ลูกค้าต้องเสียไป การเพิ่มคุณค่ารวมทั้งหมด(สินค้า/บริการ/ฯลฯ) อาจจะจำเป็นต้องใช้หลายๆวิธีเข้ามาช่วยเช่น สร้างความเข้มแข็งหรือสร้างเสริม คุณค่าประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ บริการ บุคลากร หรือภาพพจน์

ส่วนการลดค่าใช้จ่ายที่ลูกค้าต้องเสียไป ทำได้โดยหาวิธีลดค่าใช้จ่ายของผู้ซื้อให้มากที่สุด โดยผู้ขายอาจจะลดราคาขาย ลดความยุ่งยากในกระบวนการขั้นตอนการสั่งซื้อ/การส่งสินค้า หรืออาจช่วยลดความเสี่ยงบางอย่างของผู้ซื้อโดยการรับประกันสินค้า โดยรวมทั้งหมดเรียกว่าการส่งมอบคุณค่าให้ลูกค้า

แนวคิดการตลาด

แนวคิดการตลาด มี 5 แนวคิด แบ่งตามวิวัฒนาการมาตั้งแต่อดีต ได้แก่

ก.)แนวคิดมุ่งเน้นการผลิต(Production Concept)

ข.)แนวคิดมุ่งเน้นคุณสมบัติเด่นของผลิตภัณฑ์(Product Concept)

ค.)แนวคิดมุ่งเน้นการขายสินค้าหรือบริการ(Selling Concept)

ง.)แนวคิดมุ่งเน้นการตลาด (Marketing Concept)

จ.)แนวคิดมุ่งเน้นการตลาดเพื่อสังคม(Societal Marketing Concept)

ใน 3 แนวคิดแรกนั้น ใช้ไม่ค่อยได้ผลแล้วในปัจจุบัน ส่วนแนวคิดที่ 4 คือ แนวคิดมุ่งเน้นการตลาดคือแนวคิดที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีหลักสำคัญอยู่ที่การสำรวจความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย(Needs & Wants) แล้วผลิตสินค้า/บริการให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มเหล่านั้น แล้วทำให้เขาพอใจสูงสุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ/ประสิทธิผลเหนือกว่าคู่แข่งขัน

ไม่กี่ปีที่ผ่านมาและในยุคหน้า ยังเป็นที่สงสัยกันว่าแนวคิดการตลาดนั้นเป็นแนวคิดที่เหมาะสมเพียงพอหรือไม่กับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เป็นพลวัตอย่างรวดเร็วนี้ ดังนั้นจึงมีผู้เสนอแนวคิดซึ่งเชื่อว่าน่าจะดีกว่า คือ แนวคิดการตลาดเพื่อสังคม ซึ่งประกอบด้วยแนวคิดเดิม แต่เพิ่มเติมแนวคิดว่า ต้องรักษาและส่งเสริมสภาพความเป็นอยู่และสังคมที่ดีของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายด้วย (Preserve & enhance the consumers’ and society’s well-being). ซึ่งแนวคิดการตลาดเพื่อสังคมนี้นักการตลาดจะต้องสร้างสมดุลย์ระหว่างกำไรของบริษัท ความพึงพอใจ/การสนองความต้องการของลูกค้า และผลประโยชน์ของสาธารณชน/สังคม

สิ่งที่นักการตลาดควรรู้

สิ่งที่นักการตลาดควรรู้

ในตลาดเป้าหมายแต่ละประเภทนั้น บริษัทต้องสร้างหรือพัฒนาประโยชน์ทางการตลาด (Market Offerings) ซึ่งจะประทับอยู่ในจิตใจของผู้บริโภค (Position in the buyers’ minds) นักการตลาดต้องเข้าใจความต้องการ (need, want, demand) ของลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย สินค้าหรือบริการจะประสบความสำเร็จได้ถ้าสร้างคุณค่าและความพึงพอใจแก่ผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้

คำว่า”ตลาด” ครอบคลุมความหมายกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างกว้างขวางหลายกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีมาก และมีกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ เกิดขึ้นอีกมาก เช่น digital marketplace ซึ่งโตวันโตคืน

นักการตลาดต้องมีทักษะด้านการบริหาร ”อุปสงค์” ในส่วนของการพยากรณ์ยอดขาย ช่วงเวลา องค์ประกอบ ปริมาณ ฯลฯ ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้นั้น ต้องมีการตัดสินใจอย่างถูกต้องในหลายๆ เรื่อง เช่น ผลิตภัณฑ์ต้องจุดเด่นอะไรบ้างจึงจะถูกใจผู้บริโภค, สีของกล่องควรเป็นอย่างไร ขายที่ไหนดี โปรโมตยังไงบ้าง ราคาเท่าไร ฯลฯ

นักการตลาดเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของตน ผ่านช่องทางหลายช่องทาง เช่น การสื่อสาร การจัดจำ หน่าย การขาย ฯลฯในขณะดำ เนินการตลาดนั้น นักการตลาดต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมต่างๆหลากหลายปัจจัย รวมทั้งคู่แข่งขันในรูปแบบต่างๆ ดังนั้นนักการตลาดจึงต้องมีเครื่องมือ(อาวุธ)ไว้สำหรับดำ เนินกิจกรรมการตลาดไปสู่ตลาดเป้าหมาย (Target market) ให้ได้สำเร็จเราเรียกอาวุธเหล่านั้นว่า ส่วนประสมการตลาด (Marketing Mix) หรือ 4P's



โอกาสทางการตลาดในปัจจุบัน

โอกาสทางการตลาดในปัจจุบัน

ธุรกิจในปัจจุบันเผชิญกับโอกาส 3 ประการใหญ่ๆ คือ


ภาวะโลกาภิวัฒน์
ในยุคที่โลกแบนแบบนี้ ไปไหนก็สบาย การขนย้ายง่ายขึ้น ทั่วโลกเชื่อมต่อกัน คุณมองเห็นโอกาสอะไรบ้าง


การพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี
การกำเนิดขึ้นของอินเตอร์เน็ตที่ย่อโลกลงเหลือเล็กนิดเดียว, ระบบเครือข่ายโทรศัพท์ไร้สายที่รวดเร็ว, ระบบข้อมูลดิจิตอลที่สามารถแปลงข้อมูลข้ามแพลตฟอร์มอย่างง่ายดาย, โลกปัจจุบันที่พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตามเทคโนโลยี คุณมองเห็นโอกาสอะไรบ้าง


การค้าระหว่างประเทศใหม่ๆ
เมื่อหลายๆ ประเทศยอมเปิดประเทศเพื่อทำการค้ามากขึ้น การค้าระหว่างประเทศที่ทำให้เกิดการหาวัตถุดิบต้นทุนต่ำ แล้วนำไปขายในที่ๆ ให้ราคาสูงสุด หรือการเข้าไปสู่ประเทศที่มีกำลังซื้อสูง หรือการเข้าไปสู่ประเทศที่มีแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง คุณมองเห็นโอกาสอะไรบ้าง



Yellow Puppies Blogger Template | Template Design | Elque 2008